วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทย-เมียนมาร์ ด่านสิงขร บ้านมุด่อง สิงขร ตะนาวศรี มะริด ประเทศพม่า MYANMAR


                 www.sunitjotravel.com

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ที่ตั้งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
        จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถือเป็นจังหวัดของภาคกลางตอนล่าง หรือจะเรียกว่า เป็นประตูสู่จังหวัดภาคใต้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เป็นเมืองที่มีชายฝั่งทะเลยาวตลอดแนว ถึง 212 กิโลเมตร    จึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลมากมายหลายแห่ง ที่ขึ้นชื่อคือ ชายทะเลหัวหินซึ่งมีชื่อเสียงมาเนิ่นนาน และเขตพื้นที่ที่แคบที่สุดของประเทศไทยอยู่ในเขตจังหวัดนี้  ขนาดพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด 6,367.62 ตารางกิโลเมตร  หรือ  3,979,762.50 ไร่

การค้าชายแดน
สภาพปัจจุบัน
       จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า  ประมาณ 212 กิโลเมตร       ทั้ง 8 อำเภอ  มีเขตติดต่อกับประเทศสหภาพพม่า  และมีตำบลและหมู่บ้านที่มีชายแดน จำนวน 21  ตำบล  48  หมู่บ้าน  มีช่องทางเข้าออกชายแดน 35 ช่องทาง  แยกเป็น  ช่องทางธรรมชาติ  34 ช่องทาง อยู่ในพื้นที่ทุกอำเภอยกเว้นอำเภอ สามร้อยยอด  และมีจุดผ่อนปรนชั่วคราว  1  ช่องทาง  คือ  ด่านสิงขร 
สภาพพื้นที่ฝั่งพม่า (หมู่บ้านมูด่อง MAW-DANUNG)
       หมู่บ้านมูด่องเป็นหมู่บ้านติดกับด่านสิงขร ชายแดนไทย ทางเข้าหมู่บ้านมีหน่วยทหารพม่าประจำอยู่ที่ชายแดน เป็นจุดตรวจของพม่า จากจุดตรวจเข้าไปประมาณ 800 เมตร จะถึงหมู่บ้านมูด่อง มีประชากรประมาณ 5,000 คน เป็นหมู่บ้านที่อยู่บนเชิงเขา    อาชีพหลัก คือ    ทำสวน  ทำไร่   ค้าขาย
ด้านการค้า มีการเชื่อมโยงสินค้าของพม่า  เช่น
             1.1 วัตถุดิบด้านการประมง ปลา   กุ้ง  ปู  ซึ่งมีมากในเมืองมะริดที่มีเกาะถึง 800 เกาะ สามารถนำเข้าผ่านช่องทางด่านสิงขร เพื่อเข้าสู่ภัตตาคาร วัตถุสิบสำหรับแปรรูป และตลาดในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และกลุ่มจังหวัดได้โดยรวดเร็ว 
             1.2 สินค้าเกษตรโดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน  ยางพารา  กล้วย  มะละกอ พริก โดยผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมที่จะรับซื้อสินค้าต่าง ๆ เหล่านี้ จากสหภาพพม่า
             1.3 ผู้ประกอบการสินค้าอุปโภค บริโภค  ลงทุนค้าขายผ่านช่องทางด่านสิงขรมากขึ้น เนื่องจากเส้นทางนี้ ใกล้  สะดวก  ทำให้ใช้ระยะเวลาในการขนส่งสินค้า น้อยกว่าด้านอื่น ๆ ทำให้ลดต้นทุนค่าขนส่ง








-2-
การค้าขายบริเวณด่านสิงขรปัจจุบัน
                 บริเวณตลาดนัดด่านสิงขรมีการค้าขายที่คึกคักขึ้น เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวมากขึ้น ผู้บริหารของจังหวัด ส่วนราชการในจังหวัด ภาคเอกชนและภาคท้องถิ่นก็พยายามสร้างบรรยากาศในการค้าขายและท่องเที่ยว ทำให้มีร้านค้าเพิ่มขึ้นทั้งร้านค้าของคนไทยและร้านค้าของคนพม่า เช่น สินค้าจำพวกเฟอร์นิเจอร์  เครื่องประดับ   อัญมณี สินค้าในครัวเรือน เป็นประจำทุกวัน  และมีการจัดตลาดนัดทุกวันเสาร์  ชาวพม่าเดินทางเข้ามาซื้อสินค้า  อุปโภคบริโภค  และนำสินค้าจำพวกของป่าและสินค้าเกษตรมาจำหน่าย
      โดยคาดว่าหลังการเปิดด่านถาวรมูลค่าการค้าชายแดน ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,000 ล้านบาท หรือ
ปีละไม่ต่ำกว่า 12,000 ล้านบาท แยกเป็น
                            สินค้าส่งออกจากไทย ได้แก่  สินค้าอุปโภคบริโภค  วัสดุก่อสร้าง  น้ำมันเชื้อเพลิง ประมาณ         ปีละ 2,000 ล้านบาท
                            สินค้านำเข้าจากพม่า จากเมืองมะริด ทวาย และบางส่วนจากเกาะสอง ได้แก่ สินค้าประมง สินค้าเกษตร และอื่น ๆ ประมาณ ปีละ 10,000 ล้านบาท
      มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ผ่านด่านศุลกากร
มูลค่าการค้าชายแดน ปี 2547-2551
           -  นำเข้า   มีมูลค่าปีละ 100-500 ล้านบาท  ได้แก่  ถ่านหิน โค-กระบือ
           -   ส่งออก มีมูลค่าปีละ  90-130 ล้านบาท   ได้แก่  เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการทำเหมืองถ่านหิน
มูลค่าการค้าชายแดน ปี 2552
-                   ปี 2552 มีมูลค่าการค้ารวม 3.6 ล้านแบบ แยกเป็นมูลค่านำเข้า  1.3 ล้านบาท และมูลค่าส่งออก         2.3  ล้านบาท   สาเหตุที่มูลค่าลดลงมาก  เนื่องจาก  หมดสัมปทานการทำเหมืองถ่านหิน  จึงมีเพียงการนำเข้า-ส่งออก และเครื่องมือเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น
            มูลค่าการค้าชายแดน ปี  2553
-                   ปี 2553  มีมูลค่าการค้ารวม 3.18 ล้านบาท แยกเป็นมูลค่านำเข้า  1.10 ล้านบาท และมูลค่าส่งออก  2.08 ล้านบาท  สาเหตุที่มูลค่าลดลงมาก  เนื่องจาก  หมดสัมปทานการทำเหมืองถ่านหิน  จึงมีเพียงการนำเข้า-ส่งออก น้ำมันเชื้อเพลิง ไม้ไผ่ หน่อไม้ ฟักทอง และไม้กวาดดอกหญ้า
  มูลค่าการค้าชายแดน ปี  2554
-                   ปี 2554  มีมูลค่าการค้ารวม 41.77 ล้านบาท แยกเป็นมูลค่านำเข้า 21.78 ล้านบาท และมูลค่าส่งออก  19.99 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2553   เนื่องจากรัฐบาล และผู้บริหารของจังหวัด/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการผลักดันที่จะให้ด่านสิงขรยกระดับเป็นด่านถาวร ทำให้ด่านสิงขรเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น และมีการค้าขายชายแดนมากขึ้น สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ เศษไม้  ไม้ไผ่ ไม้หวาย โค กระบือ สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่         รถกระบะบรรทุก รถจักรยานยนต์ น้ำมันเชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง

-3-
มูลค่าการค้าชายแดน ปี 2555  
                            -มีมูลค่าการค้ารวม 71.46 ล้านบาท แยกเป็น นำเข้า  27.54  ล้านบาท ได้แก่ เศษไม้  ไม้ไผ่ ไม้หวาย โค-กระบือ  และถ่านไม้  ส่งออก  43.92  ล้านบาท  ได้แก่  รถยนต์กระบะเก่าใช้แล้ว  รถดั๊ม   รถตัก  รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ และวัสดุก่อสร้าง  มูลค่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากจังหวัดกำลังผลักดันให้ด่านสิงขรเป็นด่านถาวร ทำให้มีการค้าขายมากขึ้น และด่านสิงขรเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น  และฝั่งพม่าต้องการวัสดุก่อสร้างมาสร้างบ้านเรือนมากขึ้น
มูลค่าการค้าชายแดน ปี 2556  (  ม.ค.56 )
                   -มีมูลค่าการค้ารวม 29.60 ล้านบาท แยกเป็น นำเข้า  4.84  ล้านบาท ได้แก่ เศษไม้  ไม้ไผ่ ไม้หวาย โค-กระบือ  และถ่านไม้  ส่งออก  24.77  ล้านบาท  ได้แก่  กรดไขน้ำมันปาล์ม   รถยนต์กระบะ  รถแทรกเตอร์ และวัสดุก่อสร้าง  มูลค่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากจังหวัดกำลังผลักดันให้ด่านสิงขรเป็นด่านถาวร ทำให้มีการค้าขายมากขึ้น และด่านสิงขรเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น  และฝั่งพม่ามีความเจริญมากขึ้นจึงต้องการวัสดุก่อสร้างมาสร้างบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก

                               
กิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทย-เมียนมาร์
วันที่  14 16  สิงหาคม  2553  ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (นายวีระ  ศรีวัฒนตระกูล)เดินทางร่วมคณะกับรัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์(นายอลงกรณ์  พลบุตร)เยือนสหภาพพม่าเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ โดยเดินทางไปดูงาน ณ ท่าเรือทวาย  เมืองย่างกุ้ง และเมืองเนปิดอร์
วันที่ 2-4  ตุลาคม  2553 คณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์          (นายวีระ  ศรีวัฒนตระกูล) พร้อมด้วย ภาคราชการ ภาคท้องถิ่น และภาคเอกชน เดินทางไปเยือนเมืองมะริด   สหภาพพม่า เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ตามโครงการสถาปนาเมืองพี่เมืองน้อง ซึ่งได้พบปะกับรัฐมนตรีกระทรวงประมงและปศุสัตว์  และกรรมการคณะกรรมการการลงทุน  พร้อมเยี่ยมชนและดูงานของ YUZANA GROUP ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาทสหภาพพม่าให้สร้างถนนเชื่อมเมืองมะริด-สิงขร ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี และถือเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุน
วันที่  8  มกราคม 2554  ต้อนรับคณะทำงานด้านโลจิสติกส์ นำโดยนายอลงกรณ์  พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะ ณ บริษัทท่าเรือประจวบ จำกัด เพื่อดูเส้นทางโลจิสติกส์ทางน้ำตั้งแต่จังหวัดระนอง ชุมพร และประจวบ นอกจากนี้ได้เดินทางมาที่ด่านสิงขร เพื่อดูความพร้อมในการเปิดด่าน
วันที่ 25 มกราคม 2555 คณะกรรมการกิจการชายแดนไทย สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการเพื่อแถลงข้อเท็จจริงเพื่อติดตามความคืบหน้าและทิศทางความเป็นไปได้ของการเปิดด่านสิงขร  ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ อาคารรัฐสภา
               

                                                                        -4-
วันที่ 28 มกราคม 2555 ผู้ว่าราราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เข้าหารือกับ K.E.U HTAY MYINT ประธานคณะกรรมการการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการมอบหมายให้ดูแลพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ที่รับสัมปทานจากรัฐบาลในการสัมปทานเส้นทางคมนาคม สายมะริด-มอต่อง(มูด่อง) ณ อาคารของ YUSANA GROUP
วันที่ 5 เมษายน 2555  คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา ได้มีหนังสือเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามการเชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ณ อาคารรัฐสภา และเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555                 
อนุกรรมาธิการฯ ได้เดินทางมาศึกษาดูงาน  ณ ด่านสิงขร เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการยกระดับด่านสิงขร          เป็นด่านถาวร
วันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ร่วมเดินทางไปกับหอการค้าไทยและสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน(องค์การมหาชน) (NEDA) และนักธุรกิจเพื่อประสานความคืบหน้าในการยกระดับจุดผ่อนปรนด่านสิงขรเป็นด่านถาวร โดยได้เข้าพบกับผู้ว่าราชการเมืองมะริด รองผู้ว่าราชการเมืองมะริด ฝ่ายเศรษฐกิจ และประธานหอการค้าและประธานสภาอุตสาหกรรมเมืองมะริด                           ซึ่งมีกิจกรรม ดังนี้                      
                (1) การประชุมร่วมกันที่จะร่วมกันผลักดันให้ด่านสิงขร-มูด่องเป็นด่านถาวร
                                (2) การสำรวจเส้นทางระหว่างมะริด-มูด่อง ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร เพื่อพัฒนาเส้นทาง
                                (3) การเจรจาธุรกิจ (
Business Matching) กับนักธุรกิจไทย-เมียนมาร์(มะริด)
                                (4) การสานสัมพันธ์ที่จะยกฐานะเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ประจวบคีรีขันธ์-มะริด
                วันที่  7 – 9 กันยายน  2555  ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (นายวีระ  ศรีวัฒนตระกูล) และคณะร่วมเดินทาง จำนวน 54 คน  เพื่อไปศึกษาดูงาน  ณ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์  และเยี่ยมชม   สถานทูตไทย        ณ กรุงย่างกุ้ง  เมืองมะริด  และนิคมอุตสาหกรรมเมืองมะริด
                - เพื่อรับทราบข้อมูล ข้อแนะนำเกี่ยวกับการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวจากเอกอัครราชทูตไทย  ณ กรุงย่างกุ้ง
                - เพื่อดำเนินการตามโครงการสานสัมพันธ์การค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน (ประจวบคีรีขันธ์-มะริด)
                - เชื่อมความสัมพันธ์กับผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชนของเมืองมะริด




-5-

ความต้องการของภาคเอกชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยสรุป

1.             สนับสนุนให้เมียนมาร์เปิดจุดผ่านเป็นทางการ เช่นเดียวกับที่เมืองพญาตองซู เพราะจะทำให้การค้าลื่นไหลมากขึ้น
2.             ต้องการให้ส่งเสริมการค้าชายแดนบริเวณด่านสิงขรจากนอกระบบมาอยู่ในระบบให้มากที่สุด
3.             จัดให้มีธนาคารพาณิชย์ บริเวณชายแดนด่านสิงขร
4.             จัดตั้งศูนย์ One Stop Service  ของภาครัฐ และสนับสนุนศูนย์ One Stop Service  ของภาคเอกชนให้เป็นที่ยอมรับของภาครัฐและภาคประชาชน
5.             จัดทำข้อตกลงทวิภาคีกับพม่าในการเดินรถข้ามแดน เนื่องจากในพม่าขาดแคลนยานพาหนะ
6.             ควรจัดให้มีการสอนภาษาพม่าเบื้องต้นให้กับภาคเอกชนและภาครัฐของไทย
7.             เชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศกับพม่า เช่น สนามบินหัวหิน หรือ สนามบินกองบิน 5 อ่าวมะนาว
8.             ขยายพื้นที่เดินทางโดยใช้ Border Pass ให้กับประชาชนชาวพม่าให้เดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ถึงอำเภอหัวหิน เพื่อส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว และ ส่งเสริมธุรกิจสถานพยาบาล
9.             สนับสนุนให้มีการจัดประชุมหารือกับ UMFCCI เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ของภาคเอกชนไทยกับภาคเอกชนพม่าเพื่อสร้างความมุ่งมั่นที่จะเร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

-----------------------------------------

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น